เงินสมทบประกันสังคมคืออะไร? ขั้นตอนการเช็คเงินสมทบประกันสังคม 2567 (ล่าสุด)

เงินสมทบประกันสังคม 2567 กับการสรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม

เงินสมทบประกันสังคมคืออะไร หลาย ๆ คนที่มีงานประจำ หรือเป็นพนักงานบริษัทจะต้องรู้จักเป็นอย่างดีกับการส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567 รวมไปถึงกลุ่มผู้ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งทั้งหมดนี้จะได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายไปจนถึงเกษียณอายุการทำงาน ซึ่งจำนวนเงินประกันสังคมในแต่ละกลุ่มก็จะให้มีการคำนวณการจ่ายที่แตกต่างกันไป และเงื่อนไขก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย โดยจะไปดูกันว่ากองทุนประกันสังคมสามารถจะใช้ทำอะไรได้บ้าง

เงินสมทบประกันสังคม กับการสรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2567

เงินสมทบประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 จะเป็นกลุ่มผู้ประกันตนที่จะมีนายจ้าง ซึ่งจะอยู่ในระบบบริษัท โดยปกติจะมีการถูกหักเงินสมทบประกันสังคมอยู่ที่ 5%ของเงินเดือนที่ได้รับ และจะมีการปรับลดให้จากกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 อยู่ที่ 2.5% ของเงินเดือนที่ได้รับ โดยวิธีการคำนวณหรือเช็คเงินสมทบประกันสังคมได้ด้วยตัวเอง คือนำเอาเงินเดือนที่ได้ต่อเดือนคูณด้วย 5% หรือ 2.5% ตามที่มีการแจ้งไว้จากประกันสังคมในขณะนั้น ซึ่งจะสามารถทำให้รู้ได้ว่าเช็คเงินสมทบประกันสังคมเกินหรือว่าโดยหักเกินไปหรือไม่ โดยจะยกตัวอย่างดังนี้ ในกรณีที่มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท จะโดนหักเงินสมทบประกันสังคม 2567 อยู่ 5% ในช่วงเวลาปกติ

  • เงินเดือน 15,000 x 5% เงินหักเข้ากองทุนประกันสังคม = 750 จำนวนเเงินที่ถูกหัก
  • เงินเดือน 15,000 x 2.5% เงินหักเข้ากองทุนประกันสังคม = 375 จำนวนเเงินที่ถูกหัก

เงินสมทบประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะเป็นกลุ่มที่เคยเป็นพนักงานบริษัทมาก่อน หรือเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมีการส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่เนื่องจากอาจจะต้องกลายเป็นผู้ว่างหรือลาออกจากงาน รวมไปถึงกรณีที่โดนเลิกจ้าง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนจะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน และจำเป็นจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39  เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง 

เงินสมทบประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40

จะเป็นผู้ประกันตน ที่สมัครใจลงทะเบียนเพื่อที่จะส่งเงินสมทบประกันสังคมด้วยตัวเอง โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องมีดังนี้

  • เงินสมทบประกันสังคม 2567 สำหรับมาตรา 40 ต้องมีสัญชาติไทยและจะต้องมีอายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์ 
  • จะต้องประกอบอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ และจะต้องไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 และมาตรา 39 
  • จะต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือผู้ที่ได้รับบํานาญของกรมบัญชีกลาง 
  • จะต้องไม่มีเลขบัตรประจำตัวขึ้นด้วย 0, 6 และ 7 ในการสมัครเข้ากองทุนประกันสังคม 
  • การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องมีการชำระเงินสมทบภายในวันที่ 14 ม.ค. 65 จึงจะเป็นผู้ประกันตนโดยสมบูรณ์

การส่งเงินสมทบประกันสังคม ม.40 จะแบ่งออกเป็น 3 แบบตามความสมัครใจ

  1. การส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567 แบบแรกผู้ประกันตนเลือกที่จะจ่าย 70 บาท และรัฐจ่ายเพิ่มให้อีก 30 บาท จะได้การคุ้มครอง 3 กรณีเจ็บป่วย วันละ 300 บาท, ทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน ได้กรณีเสียชีวิตจะได้ค่าทำศพ 25,000 บาท และมีเงินสมทบให้อีก 8,000 บาทจะได้รับจ่ายเงินสมทบครบตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  2. ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567  จำนวน 100 บาท และรัฐบาลช่วยจ่ายเพิ่มให้อีก 50 บาท โดยจะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากแบบแรกคือจะได้เป็นเงินบำเหน็จเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้ว 180 เดือนขึ้นไป
  3. อีกรูปแบบจะเป็นการ เงินสมทบประกันสังคม 2567 จ่าย 300 บาทและรัฐบาลจะเพิ่มให้อีก 150 บาท ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 40 อาจจะสงสัยว่าจะคุ้มไหม  สำหรับการได้รับความคุ้มครองมากถึง  5 รายการกับการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ดังนี้ 
  1. จะได้รับเงินทดแทนกรณีที่นอนโรงพยาบาล 300 บาทต่อวันเป็นเวลา 3 วันขึ้นไป
  2. กรณีทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
  3. จะได้รับเงินสมทบจากกองทุนประกันสังคมค่าทำศพ 50,000 บาท
  4. เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์
  5. เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี

ข้อดีของการส่งเงินสมทบประกันสังคม

สำหรับประชาชนทั่วไปทั้งที่เป็นพนักงานประจำ หรือเพิ่งจะเป็นผู้ว่างไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันตนในกรณีที่เป็น มาตรา 33 จะเป็นประโยชน์และสามารถจะช่วยเหลือผู้ที่ว่างงาน ตกงาน ถูกเลิกจ้างได้ ซึ่งแน่นอนหลายคนคงไม่อยากจะกลายเป็นคนตกงาน และเพราะมีการจ่ายเงินสมทบเงินประกันสังคม จะช่วยให้สามารถจะมีเงินช่วยเหลือได้อีกเป็นระยะเวลา 3-6 เดือนอีกทั้งยังสามารถจะสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้และยังคงได้รับความคุ้มครองกรณีป่วย ทุพพลภาพ หรือกรณีที่เสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถจะเช็คเงินสมทบประกันสังคมเกินได้ รวมทั้งผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จะสมัครใจในการส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567

เงินสมทบประกันสังคม 2567 จะเป็นสิทธิประโยชน์ของกลุ่มผู้ประกันตน ตั้งแต่มาตรา 33 ไปจนถึงมาตรา 39 ซึ่งในการสมัครทั้งแบบนี้จะแตกต่างจากกลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 40 แต่ก็ยังได้รับความคุ้มครองไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะ ม.40 ที่สามารถจะเลือกส่งเงินประกันสังคมได้ตามความสามารถของผู้สมัครเอง โดยในแต่ละแบบรัฐบาลก็จะช่วยสมทบเงินส่วนนี้เพิ่มให้อีกต่อเดือน สรุปได้ว่าสำหรับการประกันตนในแต่ละประเภทเงื่อนไขการสมัครจะแตกต่างกัน เช่นในกลุ่มมาตรา 39 หากไม่ทำการสมัครภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากงานประจำ จะต้องสมัครเป็นมาตรา 40 แทน หรือต้องการเป็น ม.39 ก็จะต้องกลับไปทำงานประจำและส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567 มาตรา 33 ใหม่